นับถอยหลังดาวเทียม”ไอพีสตาร์”โคจรขึ้นท้องฟ้า

เหลือเพียงอีกไม่กี่วัน ดาวเทียมไอพีสตาร์ ดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จะถูกจัดส่งขึ้นสู่ท้องฟ้า โดยบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ลงทุนสร้างดาวเทียมดวงดังกล่าวเลือกวันจันทร์ที่ 11 กรกฏาคม 2548 (จากเดิมกำหนดไว้วันศุกร์ที่ 8 กรกฏาคม เนื่องจากความไม่พร้อมทางด้านเทคนิค) เป็นวันดีเดย์ปล่อยตัวดาวเทียมที่เมืองคูรู จังหวัดโพ้นทะเลเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้ จากกำหนดการเดิมปล่อยดาวเทียมตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 หากแต่ความไม่พร้อมในหลาย ๆ ด้านทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการปล่อยดาวเทียมออกไป
เหตุผลหลัก ๆ ที่ บมจ.ชินแซทเทลไลท์ ลงทุนเงินก้อนโตจำนวน 13,000 ล้านบาทเพื่อจัดสร้างดาวเทียมไอพีสตาร์ เพราะได้ประเมินเอาไว้ล่วงหน้าว่าธุรกิจบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งรับรู้รายได้แหล่งใหม่ นอกเหนือจากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำลังอิ่มตัว

ขณะที่รายงานของสถาบันการวิจัยทางการตลาด พบว่าในปี พ.ศ.2547 จำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมีจำนวนมากกว่า 150 ล้านคนทั่วโลกหรือคิดเป็น 53% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2546 และ สัดส่วนการใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก คิดเป็น 43% หรือ 58.7 ล้านคน สำหรับในทวียุโรปตะวันออกกลาง และ อัฟริกา มีสัดส่วนการใช้งาน 27% หรือประมาณ 37.1 ล้านคน เป็นสิ่งตอกย้ำอนาคตของ ไอพีสตาร์ ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ในรายงานประจำปี 2547 ของ บมจ.ชินแซทฯ ได้ระบุผลวิจัยของ Northern Sky Resarch (NSR) รายงานว่าตั้งแต่ปี 2548 แนวโน้มความต้องการการใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวทียมทั่วโลกจะมีจำนวนสูงขึ้นด้วย ซึ่งกลุ่มผู้ใช้บริการไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะกลุ่มธุรกิจและองค์กรใหญ่ ๆ อีกต่อไป แต่จะครอบคลุมถึงผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก อีกด้วย

สำหรับตัวดาวเทียม ไอพีสตาร์ บมจ. ชินแซทฯ ได้มีการว่าจ้างใ ห้ บริษัท สเปซ ซิสเต็ม ลอรัล จากประเทศสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ผลิตตัวดาวเทียม ส่วน เอเรียนสเปซ ทำหน้าที่ในการจัดส่งดาวเทียมขึ้นในตำแหน่งวงโคจร 122 องศา

ปี49รับรู้รายได้

“กลุ่มชินฯ จะยิงดาวเทียมไอพีสตาร์ขึ้นสู่ท้องฟ้าในวันที่ 8 ก.ค.นี้ หลังจากนั้นจะสามารถรับรู้รายได้เต็มที่ในปี 2549 ทำให้สัดส่วนรายได้จากธุรกิจดาวเทียมเพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นอันดับ 2 รองจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือ” นั้นคือคำบอกเล่าของ บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ดาวเทียมไอพีสตาร์ ไม่ใช่ดาวเทียมดวงแรกของ บมจ.ชินแซทเทลไลท์ ดวงเทียมดวงแรกคือ ไทยคม 1 A ที่ได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม เป็นระยะเวลา 30 ปี สัญญาสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2564 (ปัจจุบันอำนาจดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที) ถูกยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อประมาณปีพ.ศ.2534 ถัดจากนั้นไม่นานดาวเทียม ไทยคม 2 และ ไทยคม 3 ถูกยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าตามลำดับ

หากแต่ดาวเทียมไทยคมทั้ง 3 ดวงที่เปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้เป็นดาวเทียมที่ให้บริการรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (เทเลพอร์ต) และบริการส่งสัญญาณภาพโทรทัศน์ดิจิตอลผ่านดาวเทียมในความถี่ทั้ง C-BAND และ Ku-Band มาใช้กับระบบโทรทัศน์โดยตรงผ่านดาวเทียม และการประยุกต์ใช้งานดาวเทียมด้านอื่นๆ

ขณะที่ ไอพีสตาร์ จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปฏิวัติการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นการให้บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลผ่านดาวเทียมแบบ 2 ทาง (Two-ways Broadband Internet) มีการเชื่อมต่อสัญญาณแบบตลอดเวลา (Always-on) ผ่านอุปกรณ์ชุดรับส่งสัญญาณดาวเทียมโดยไม่ต้องต่อสายโทรศัพท์ สามารถรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ประเภทไฟล์ข้อมูล ภาพนิ่ง เสียง หรือ ข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย ได้แก่ บริการอินเตอร์เน็ตผ่านสายงจรเช่า (leased line) การกระจายสัญญาณภาพเสียงข้อมูล (broadcasting) และ การให้บริการโทรศัพท์ในเขตพื้นที่ชนบท (rural telephony) เป็นต้น

ครอบคลุมพื้นที่ 14 ประเทศ

ดร. ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 14 ประเทศในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก และสามารถรองรับได้ 2-4 ล้านผู้ใช้งาน ในกลุ่มที่มีความต้องการใช้งาน บรอดแบนด์ แต่ยังไม่มีผู้ให้บริการส่งข้อมูลความเร็วสูงบนโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเทคโนโลยี ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เข้าถึงความสำเร็จจากการส่งดาวเทียมขึ้นสู่งวงโคจรในครั้งนี้ จะส่งผลให้ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการให้บริการที่เข้าถึงในทุกพื้นที่ แม้เป็นพื้นที่ห่างไกล ทั่วทั้งภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกต่อเศรษฐกิจ

กลุ่มเป้าหมายประเทศขนาดใหญ่

ก่อนที่จะยิงดาวเทียมไอพีสตาร์ขึ้นสู่วงโคจร บมจ.ชินแซทฯ ได้ปูพรหมทำการตลาดและขายสินค้าไปล่วงหน้าแล้วด้วยการติดตั้งสถานีควบคุมระบบภาคพื้นดินไปแล้วจำนวน 18 ประเทศ (ดูตารางประกอบ) โดยอาศัยสัญญาณดาวเทียมไทยคม 3 พร้อม ๆ กับตั้งบริษัทย่อยในต่างประเทศเพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการไอพีสตาร์ ไล่เรียงตั้งแต่ ประเทศออสเตรเลีย,นิวซีแลนด์ และล่าสุดจัดตั้งบริษัท IPSTAR INTERNATIONAL PTE.LTD. ในประเทศสิงคโปร์ และ บริษัท IPSTAR GLOBAL SERVICES LTD.ในประเทศมอริเซียส อีกด้วย

เหตุผลที่ บมจ.ชินแซทฯ ต้องทำอย่างนั้นเนื่องจากหากรอตัวดาวเทียมไอพีสตาร์ขึ้นท้องฟ้าจะเสียโอกาสทางการตลาด ดังนั้นต้องใช้วิธีการเจาะตลาดเข้าถึงกลุ่มลูกค้าโดยตรง และ กลุ่มเป้าหมายสำคัญ ๆ ก็คือ ประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และ ประชากรจำนวนมาก โดยที่ระบบสื่อสารในปัจจุบันไม่สามารถรองรับความต้องการได้อย่างพอเพียง นั้นก็คือประเทศจีน ,อินเดีย และ ออสเตรเลีย ,ประเทศที่เป็นหมู่เกาะ ซึ่งการลงทุนโครงข่ายสื่อสารภาคพื้นดินไม่ทั่วถึง และ มีต้นทุนดำเนินการสูง เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และ กาะซาบาห์ ซาราวัก

นอกจากนี้ยังเข้าไปเจาะกลุ่มประเทศที่กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาโครงข่ายสื่อสารภาคพื้นดิน แต่ติดขัดล่าช้าเนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณการลงทุน เช่น เวียดนาม ไทย กัมพูชา และ พม่า และ สุดท้าย คือ ประเทศที่มีระบบการสื่อสารภาคพื้นดินที่มีประสิทธิภาพ และ มีการขยายตัวทางด้านการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตในปริมาณสูงมาก เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน

ไม่เพียงแต่ ไอพีสตาร์ จะยิงขึ้นสู่ท้องฟ้านั้น หากแต่ยังมีดาวเทียม บีแกน เป็นดาวเทียมสื่อสารเคลื่อนที่อีกหนึ่งดวงที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งบริษัท อินมาแซท ทุ่มทุนสร้างและจะเปิดให้บริการประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ และ เตรียมแผนที่จะเข้ามาเจาะตลาดประเทศไทยอีกด้วย

ณ วินาทีนี้ผู้บริหารของ บมจ.ชินแซทฯ รวมไปถึง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อดีตผู้ก่อตั้งบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คงนับนิ้วรอวันเวลาที่ ไอพีสตาร์ จะยิงดาวเทียมขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดใหญ่มีน้ำหนักถึง 6 ตันขึ้นสู่วงโคจรอย่างราบรื่น

เหมือนอย่างที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวสุนทรพจน์ในวันที่ นายบิล เกสต์ มาเยือนเมืองไทยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนตอนหนึ่งว่า การปล่อยดาวเทียม Broadband ดวงใหม่ของไทยในเดือนหน้าว่าเป็นก้าวสำคัญในการเชื่อมโยงโครงข่ายทั่วประเทศ ทำให้ราคาต่อหน่วย bandwidth (ช่องสัญญาณ) ต่ำลง และ ตอกย้ำการให้บริการเครือข่ายเว็บไซต์สำหรับประชาชนตามแนวคิด “ไม่ว่าที่ไหน เมื่อไหร่”

ล้อมกรอบ

โครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกคือ ตัวดาวเทียม ดาวเทียมไอพีสตาร์-1 แบ่งพื้นที่บริการจำนวน 94 บีม (84 สปอต บีม, 3 Shaped บีม,7 บรอดคลาส บีม) มีสมรรถนะในการส่งสัญญาณสูงถึง 45 กิกะบิทต่อวินาที ส่งข้อมูลได้ถึง 4 บิท

ส่วนที่สอง คือ อุปกรณ์ภาคพื้นดิน ประกอบด้วย อุปกรณ์ปลายทาง (IPSTRA user terminal) สถานีควบคุมระบบเครือข่ายภาคพื้นดินหรือเกตเวย์ และ ระบบเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีของดาวเทียมไอพีสตาร์ในการจัดรูปแบบคลื่นวทิยุ และ ภาคติดต่อที่ใช้ในทั้งภาคส่ง และ รับ

logotan

เหลือเพียงอีกไม่กี่วัน ดาวเทียมไอพีสตาร์ ดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จะถูกจัดส่งขึ้นสู่ท้องฟ้า โดยบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ลงทุนสร้างดาวเทียมดวงดังกล่าวเลือกวันจันทร์ที่ 11 กรกฏาคม 2548 (จากเดิมกำหนดไว้วันศุกร์ที่ 8 กรกฏาคม เนื่องจากความไม่พร้อมทางด้านเทคนิค) เป็นวันดีเดย์ปล่อยตัวดาวเทียมที่เมืองคูรู จังหวัดโพ้นทะเลเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้ จากกำหนดการเดิมปล่อยดาวเทียมตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 หากแต่ความไม่พร้อมในหลาย ๆ ด้านทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการปล่อยดาวเทียมออกไป
เหตุผลหลัก ๆ ที่ บมจ.ชินแซทเทลไลท์ ลงทุนเงินก้อนโตจำนวน 13,000 ล้านบาทเพื่อจัดสร้างดาวเทียมไอพีสตาร์ เพราะได้ประเมินเอาไว้ล่วงหน้าว่าธุรกิจบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งรับรู้รายได้แหล่งใหม่ นอกเหนือจากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำลังอิ่มตัว

ขณะที่รายงานของสถาบันการวิจัยทางการตลาด พบว่าในปี พ.ศ.2547 จำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมีจำนวนมากกว่า 150 ล้านคนทั่วโลกหรือคิดเป็น 53% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2546 และ สัดส่วนการใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก คิดเป็น 43% หรือ 58.7 ล้านคน สำหรับในทวียุโรปตะวันออกกลาง และ อัฟริกา มีสัดส่วนการใช้งาน 27% หรือประมาณ 37.1 ล้านคน เป็นสิ่งตอกย้ำอนาคตของ ไอพีสตาร์ ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ในรายงานประจำปี 2547 ของ บมจ.ชินแซทฯ ได้ระบุผลวิจัยของ Northern Sky Resarch (NSR) รายงานว่าตั้งแต่ปี 2548 แนวโน้มความต้องการการใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวทียมทั่วโลกจะมีจำนวนสูงขึ้นด้วย ซึ่งกลุ่มผู้ใช้บริการไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะกลุ่มธุรกิจและองค์กรใหญ่ ๆ อีกต่อไป แต่จะครอบคลุมถึงผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก อีกด้วย

สำหรับตัวดาวเทียม ไอพีสตาร์ บมจ. ชินแซทฯ ได้มีการว่าจ้างใ ห้ บริษัท สเปซ ซิสเต็ม ลอรัล จากประเทศสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ผลิตตัวดาวเทียม ส่วน เอเรียนสเปซ ทำหน้าที่ในการจัดส่งดาวเทียมขึ้นในตำแหน่งวงโคจร 122 องศา

ปี49รับรู้รายได้

“กลุ่มชินฯ จะยิงดาวเทียมไอพีสตาร์ขึ้นสู่ท้องฟ้าในวันที่ 8 ก.ค.นี้ หลังจากนั้นจะสามารถรับรู้รายได้เต็มที่ในปี 2549 ทำให้สัดส่วนรายได้จากธุรกิจดาวเทียมเพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นอันดับ 2 รองจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือ” นั้นคือคำบอกเล่าของ บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ดาวเทียมไอพีสตาร์ ไม่ใช่ดาวเทียมดวงแรกของ บมจ.ชินแซทเทลไลท์ ดวงเทียมดวงแรกคือ ไทยคม 1 A ที่ได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม เป็นระยะเวลา 30 ปี สัญญาสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2564 (ปัจจุบันอำนาจดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที) ถูกยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อประมาณปีพ.ศ.2534 ถัดจากนั้นไม่นานดาวเทียม ไทยคม 2 และ ไทยคม 3 ถูกยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าตามลำดับ

หากแต่ดาวเทียมไทยคมทั้ง 3 ดวงที่เปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้เป็นดาวเทียมที่ให้บริการรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (เทเลพอร์ต) และบริการส่งสัญญาณภาพโทรทัศน์ดิจิตอลผ่านดาวเทียมในความถี่ทั้ง C-BAND และ Ku-Band มาใช้กับระบบโทรทัศน์โดยตรงผ่านดาวเทียม และการประยุกต์ใช้งานดาวเทียมด้านอื่นๆ

ขณะที่ ไอพีสตาร์ จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปฏิวัติการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นการให้บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลผ่านดาวเทียมแบบ 2 ทาง (Two-ways Broadband Internet) มีการเชื่อมต่อสัญญาณแบบตลอดเวลา (Always-on) ผ่านอุปกรณ์ชุดรับส่งสัญญาณดาวเทียมโดยไม่ต้องต่อสายโทรศัพท์ สามารถรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ประเภทไฟล์ข้อมูล ภาพนิ่ง เสียง หรือ ข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย ได้แก่ บริการอินเตอร์เน็ตผ่านสายงจรเช่า (leased line) การกระจายสัญญาณภาพเสียงข้อมูล (broadcasting) และ การให้บริการโทรศัพท์ในเขตพื้นที่ชนบท (rural telephony) เป็นต้น

ครอบคลุมพื้นที่ 14 ประเทศ

ดร. ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 14 ประเทศในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก และสามารถรองรับได้ 2-4 ล้านผู้ใช้งาน ในกลุ่มที่มีความต้องการใช้งาน บรอดแบนด์ แต่ยังไม่มีผู้ให้บริการส่งข้อมูลความเร็วสูงบนโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเทคโนโลยี ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เข้าถึงความสำเร็จจากการส่งดาวเทียมขึ้นสู่งวงโคจรในครั้งนี้ จะส่งผลให้ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการให้บริการที่เข้าถึงในทุกพื้นที่ แม้เป็นพื้นที่ห่างไกล ทั่วทั้งภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกต่อเศรษฐกิจ

กลุ่มเป้าหมายประเทศขนาดใหญ่

ก่อนที่จะยิงดาวเทียมไอพีสตาร์ขึ้นสู่วงโคจร บมจ.ชินแซทฯ ได้ปูพรหมทำการตลาดและขายสินค้าไปล่วงหน้าแล้วด้วยการติดตั้งสถานีควบคุมระบบภาคพื้นดินไปแล้วจำนวน 18 ประเทศ (ดูตารางประกอบ) โดยอาศัยสัญญาณดาวเทียมไทยคม 3 พร้อม ๆ กับตั้งบริษัทย่อยในต่างประเทศเพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการไอพีสตาร์ ไล่เรียงตั้งแต่ ประเทศออสเตรเลีย,นิวซีแลนด์ และล่าสุดจัดตั้งบริษัท IPSTAR INTERNATIONAL PTE.LTD. ในประเทศสิงคโปร์ และ บริษัท IPSTAR GLOBAL SERVICES LTD.ในประเทศมอริเซียส อีกด้วย

เหตุผลที่ บมจ.ชินแซทฯ ต้องทำอย่างนั้นเนื่องจากหากรอตัวดาวเทียมไอพีสตาร์ขึ้นท้องฟ้าจะเสียโอกาสทางการตลาด ดังนั้นต้องใช้วิธีการเจาะตลาดเข้าถึงกลุ่มลูกค้าโดยตรง และ กลุ่มเป้าหมายสำคัญ ๆ ก็คือ ประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และ ประชากรจำนวนมาก โดยที่ระบบสื่อสารในปัจจุบันไม่สามารถรองรับความต้องการได้อย่างพอเพียง นั้นก็คือประเทศจีน ,อินเดีย และ ออสเตรเลีย ,ประเทศที่เป็นหมู่เกาะ ซึ่งการลงทุนโครงข่ายสื่อสารภาคพื้นดินไม่ทั่วถึง และ มีต้นทุนดำเนินการสูง เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และ กาะซาบาห์ ซาราวัก

นอกจากนี้ยังเข้าไปเจาะกลุ่มประเทศที่กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาโครงข่ายสื่อสารภาคพื้นดิน แต่ติดขัดล่าช้าเนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณการลงทุน เช่น เวียดนาม ไทย กัมพูชา และ พม่า และ สุดท้าย คือ ประเทศที่มีระบบการสื่อสารภาคพื้นดินที่มีประสิทธิภาพ และ มีการขยายตัวทางด้านการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตในปริมาณสูงมาก เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน

ไม่เพียงแต่ ไอพีสตาร์ จะยิงขึ้นสู่ท้องฟ้านั้น หากแต่ยังมีดาวเทียม บีแกน เป็นดาวเทียมสื่อสารเคลื่อนที่อีกหนึ่งดวงที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งบริษัท อินมาแซท ทุ่มทุนสร้างและจะเปิดให้บริการประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ และ เตรียมแผนที่จะเข้ามาเจาะตลาดประเทศไทยอีกด้วย

ณ วินาทีนี้ผู้บริหารของ บมจ.ชินแซทฯ รวมไปถึง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อดีตผู้ก่อตั้งบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คงนับนิ้วรอวันเวลาที่ ไอพีสตาร์ จะยิงดาวเทียมขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดใหญ่มีน้ำหนักถึง 6 ตันขึ้นสู่วงโคจรอย่างราบรื่น

เหมือนอย่างที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวสุนทรพจน์ในวันที่ นายบิล เกสต์ มาเยือนเมืองไทยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนตอนหนึ่งว่า การปล่อยดาวเทียม Broadband ดวงใหม่ของไทยในเดือนหน้าว่าเป็นก้าวสำคัญในการเชื่อมโยงโครงข่ายทั่วประเทศ ทำให้ราคาต่อหน่วย bandwidth (ช่องสัญญาณ) ต่ำลง และ ตอกย้ำการให้บริการเครือข่ายเว็บไซต์สำหรับประชาชนตามแนวคิด “ไม่ว่าที่ไหน เมื่อไหร่”

ล้อมกรอบ

โครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกคือ ตัวดาวเทียม ดาวเทียมไอพีสตาร์-1 แบ่งพื้นที่บริการจำนวน 94 บีม (84 สปอต บีม, 3 Shaped บีม,7 บรอดคลาส บีม) มีสมรรถนะในการส่งสัญญาณสูงถึง 45 กิกะบิทต่อวินาที ส่งข้อมูลได้ถึง 4 บิท

ส่วนที่สอง คือ อุปกรณ์ภาคพื้นดิน ประกอบด้วย อุปกรณ์ปลายทาง (IPSTRA user terminal) สถานีควบคุมระบบเครือข่ายภาคพื้นดินหรือเกตเวย์ และ ระบบเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีของดาวเทียมไอพีสตาร์ในการจัดรูปแบบคลื่นวทิยุ และ ภาคติดต่อที่ใช้ในทั้งภาคส่ง และ รับ

logotan