สังคมของปลวก ตอนที่ 1

สังคมของปลวก
สังคมลวกจัดเป็นแมลงสังคม ที่เรากล่าวว่าปลวกเป็นแมลงสังคมเพราะว่า ปลวกมีความเป็นอยู่แบบสังคมที่สลับซับซ้อน ภายในรังประชากรปลวกจะแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ ปลวกแต่ละวรรณะก็จะมีรูปร่างลักษณะและหน้าที่ที่ต้องทำภายในรังแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ด้วยความเป็นระบบของการดำเนินชีวิตจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลวกสามารถอยู่รอดและมีวิวัฒนาการยาวนาน อยู่คู่โลกได้นานถึง 70 ล้านปี จากหลักฐานที่พบซากหินหรือฟอสซิล (fossil) ของปลวกในยุคเมโสโซอิก (Mesozoic period) ในประเทศแถบแอฟริกาใต้ ตอนนี้เราศึกษาถึงสังคมปลวกกันดีกว่า สังคมปลวกแบ่งออกเป็น 3 วรรณะคือ

pictermit02 pictermit04

รูปฟอสซิลของปลวก

pictermit06

รูปราชาและราชินีปลวก

1. วรรณะสืบพันธุ์ เป็นตัวปลวกซึ่งเจริญเป็นตัวเต็มวัยเรารู้จักกันดีก็คือ “แมลงเม่า” รูปร่างลักษณะโดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ขนาดลำตัวจะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของปลวก ปีกจะมีลักษณะอ่อนบางเบา ส่วนของปีกจะยาวเลยส่วนท้อง ปีกคู่หน้าและปีกคู่หลังจะมีความยาวเท่ากัน ซึ่งจะต่างกับมดมีปีกที่จะมีส่วนของปีกคู่หน้าและคู่หลังที่ยาวไม่เท่ากัน แมลงเม่ามักบินออกจากรังตอนกลางคืน โดยเฉพาะในวันที่ฝนตก ปลวกวรรณะสืบพันธุ์สามารถแยกได้ดังนี้
– วรรณะสืบพันธุ์ประเภทแรก เป็นวรรณะสืบพันธุ์ซึ่งเริ่มตั้งแต่แมลงเม่าบินออกมาผสมพันธุ์กันและไปสร้างรังตามรอยแยกของผิวดิน ตัวผู้จะกลายเป็น” ราชา” ของรัง ส่วนเพศเมียจะกลายเป็น”ราชินี” ของรัง ราชากับตัวราชินีสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายมากโดยดูได้จากส่วนท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น ส่วนตัวราชายังคงสภาพเช่นเดิม
– วรรณะสืบพันธุ์ประเภทรอง ในรังที่ขาดราชินีหรือราชา จะพบวรรณะสืบพันธุ์สำรองอยู่ ลักษณะของวรรณะสืบพันธุ์สำรองจะมีลักษณะคล้ายกับวรรณะสืบพันธุ์ประเภทแรก ยกเว้นจะมีขนาดลำตัวเล็กกว่า ส่วนปีกจะเจริญไม่เต็มที่จะพบเป็นปีกเป็นแผ่นเล็กๆ ติดอยู่ที่บริเวณหลัง

C05

รูปวรรณะสืบพันธุ์ประเภทรอง

วรรณะสืบพันธุ์เป็นวรรณะที่มีความสำคัญของสังคมของปลวกเพราะมีหน้าที่หลักในการผสมพันธุ์และขยายพันธุ์ประชากรปลวกภายในรังในคราวต่อไปเราจะมากล่าวถึงวรรณะที่เหลืออยู่นั่นคือ วรรณะปลวกงาน และวรรณะปลวกทหาร อย่าลืมติดตามกันนะคะ