นานาสาระทั่วไป

1609225539

วงจรชีวิตของยุงลายเสือ

วงจรชีวิตของยุงลายเสือ

ยุงลายเสือมีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ คือเริ่มจาก ระยะไข่ ระยะลูกน้ำ ระยะดักแด้ และระยะตัวเต็มวัย ซึ่งแต่ละระยะของการเจริญเติบโตจะเปลี่ยนแปลงโดยการลอกคราบ และมีลักษณะของรูปร่างไม่เหมือนกันเลย ระยะเวลาในการเจริญเติบโตจากระยะไข่ จนถึงระยะตัวเต็มวัย ใช้เวลาประมาณ 25-40 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้น ระยะที่เป็นตัวเต็มวัยจะดำรงชีวิตอยู่บนบก ส่วนระยะอื่นๆ จะอาศัยอยู่ในน้ำ …

วงจรชีวิตของยุงลายเสือ Read More »

1609225539

ความแตกต่างในช่วงวัย…..ยุงเสือ

ในบทความตอนที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้ถึงลักษณะทางสัณฐานวิทยาโดยรวมกันแล้ว ในบทความตอนนี้เรามาทำความรู้จักกับยุงลายเสือกันให้ลึกกว่านี้ดีกว่า

ลักษณะของไข่ ไข่ของยุงลายเสือโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีสีดำ ส่วนปลายแหลมคล้ายกระสวย การวางไข่ของยุงตัวเมียจะวางเป็นกระจุกคล้ายดาว หรือคล้ายดอกทานตะวันติดกับพื้นล่างของใบพืช ที่แตะกับผิวน้ำ ไม่มีการลอยอิสระเหมือนข่าของยุงชนิดอื่น ๆ …

ความแตกต่างในช่วงวัย…..ยุงเสือ Read More »

1609225539

ยุงลายเสือ (Mansonia spp.)

บทความที่ผ่านมาทั้งหมดเป็นความรู้เกี่ยวกับยุงก้นปล่องที่เป็นยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรียแล้ว ยุงเป็นแมลงที่อันตรายเพราะเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดด้วยกัน โรคเท้าช้างเป็นโรคติดต่อจากยุงอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญมาก โดยยุงลายเสือจะเป็นพาหะนำโรคตัวอ่อนพยาธิโรคเท้าช้าง ชนิด Brugia malayi หรือไมโครฟิลาเรีย (microfilaria) พบมากทางภาคใต้ และจังหวัดแนวตะเข็บชายแดนของประเทศไทย …

ยุงลายเสือ (Mansonia spp.) Read More »

1609225539

การต้านสารเคมีของยุงพาหะ (Insecticide Resistance)

คำจำกัดความ : การต้านได้แก่การที่เมื่อใช้สารเคมีฆ่าแมลงในขนาดหนึ่งที่สามารถฆ่ายุงได้ แต่ต่อมายุงสามารถมีชีวิตรอดได้เมื่อใช้สารฆ่าแมลงในขนาดเท่าเดิม หรือสามารถฆ่าได้ แต่ลดน้อยลง

การต้านสารฆ่าแมลงนี้สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีการทดสอบและเครื่องมือทดสอบขององค์การอนามัยโลก …

การต้านสารเคมีของยุงพาหะ (Insecticide Resistance) Read More »

1609225539

ปัจจัยทางกีฏวิทยาต่อการแพร่เชื้อไข้มาลาเรีย

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียในธรรมชาติ ได้แก่ เชื้อไข้มาลาเรีย ยุงพาหะ และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กัน และมีบทบาทร่วมกันในการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียในแต่ละท้องถิ่น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะปัจจัยทางกีฏวิทยา …

ปัจจัยทางกีฏวิทยาต่อการแพร่เชื้อไข้มาลาเรีย Read More »

1609225539

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของยุง

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อการแพร่ระบาดของยุงก้นปล่อง ได้แก่ …

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของยุง Read More »

1609225539

ยุงพาหะนำเชื้อไข้มาลาเรีย

จากที่ผ่านมาเราได้ทราบถึงลักษณะทางชีววิทยา รวมถึงลักษณะทางนิเวศวิทยากันแล้วนั้น ในบทความตอนนี้ เรามารู้จักกันว่ายุงพาหะนำโรคมาลาเรียมีกี่ชนิดแล้วมีกี่ชนิดที่พบในประเทศไทย …

ยุงพาหะนำเชื้อไข้มาลาเรีย Read More »

1609225539

พฤติกรรมต่างๆ ของยุงก้นปล่อง (ต่อ)

ความสามารถในการบิน ความสามารถในการบินในระยะไกลๆ พบว่ายุงก้นปล่องบินได้ประมาณ 0.5 – 1 ไมล์

ความเป็นกรดเป็นด่าง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยุงชอบวางไข่ในที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางสรีรวิทยาของยุงและลูกน้ำยุง ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับชนิดของอาหารที่มีอยู่ในน้ำ ความเป็นกรด เป็นด่างของน้ำ …

พฤติกรรมต่างๆ ของยุงก้นปล่อง (ต่อ) Read More »

1609225539

พฤติกรรมต่างๆ ของยุงก้นปล่อง

พฤติกรรมการผสมพันธุ์
เมื่อยุงก้นปล่องออกจากระยะของการเป็นดักแด้แล้ว จะรอพักอยู่สักครู่หนึ่งแล้วเมื่อแข็งแรงแล้วจะทำการผสมพันธุ์กันทันที เวลาที่ยุงก้นปล่องทำการผสมพันธุ์จะเป็นช่วงเวลาโพล้เพล้ ของวันที่ออกเป็นตัวเต็มวัย …

พฤติกรรมต่างๆ ของยุงก้นปล่อง Read More »

1609225539

ลักษณะทางชีววิทยาของยุงก้นปล่อง

ยุงก้นปล่องมีวงจรชีวิตเป็นแบบสมบูรณ์คือมีระยะในการเจริญครบตามการเจริญของแมลงทั่วๆ ไป คือมีการเจริญเติบโต 4 ระยะด้วยกัน ได้แก่ ระยะไข่, ระยะลูกน้ำ, ระยะดักแด้ และเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย ซึ่งในแต่ละระยะของยุงก้นปล่องก็จะมีลักษณะต่างๆ ดังนี้ …

ลักษณะทางชีววิทยาของยุงก้นปล่อง Read More »

1609225539

วงจรชีวิตการเกิดโรคมาลาเรีย

จากที่เคยได้นำเสนอกันไปแล้วว่าโรคมาลาเรียเกิดจากยุงก้นปล่องเป็นพาหะ โรคมาลาเรียเป็นโรคที่คนไทยรู้จักกันมานานแล้ว ยุงก้นปล่องเป็นยุงที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำไหลชอบอาศัยอยู่ในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น หรือภูมิอากาศของประเทศเรานั่นเอง จากสถิติที่ได้ทำบันทึกไว้พบว่าจังหวัดที่พบผู้ป่วยมาก ได้แก่ ตาก สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี ยะลา จันทบุรี เป็นต้น จะเห็นได้ว่าจังหวัดที่พบการระบาดของโรคมาลาเรียมากนั้นจะเป็นจังหวัดที่มีสภาพป่าที่มีความสมบูรณ์อยู่หรือเป็นป่าทึบนั่นเอง …

วงจรชีวิตการเกิดโรคมาลาเรีย Read More »

1609225539

ยุงก้นปล่องนำโรค…มาลาเรีย

ที่ผ่านมาเราได้รู้จักเกี่ยวกับชีววิทยาของยุง รวมถึงวิธีการในการป้องกกันกำจัดกันมาบ้างแล้ว แต่อย่างที่เคยได้บอกไปแล้วในบทความที่ผ่านมาว่า ยุงแต่ละชนิดจะเป็นพาหะนำโรคที่แตกต่างกัน เช่น ยุงลายนำโรคไข้เลือดออก ส่วนยุงที่เป็นนำโรคไข้มาลาเรียก็คือยุงก้นปล่อง เรามารู้จักยุงก้นปล่องให้ดีกันดีกว่า เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านการป้องกันตัวเองจากการถูกกัดและเป็นโรคไข้มาลาเรีย …

ยุงก้นปล่องนำโรค…มาลาเรีย Read More »