มอดข้าวสาร หน้าตาเป็นอย่างไร จะกำจัดมันได้อย่างไร

คัดลอกบทความจาก เกษตรดอทคอม

มอดข้าวสาร หน้าตาเป็นอย่างไร จะกำจัดมันได้อย่างไร

มอดข้าวสาร (Rice Weevils) หรือด้วงงวงข้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sitophilus oryzae (Linnaeus)

เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกแมลงในอาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) ไฟลั่ม Arthropoda ในอันดับโคลีออพเทอรา (Order Coleoptera) จัดเป็นอันดับของแมลงที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 375,000 ชนิด ใน 170 วงศ์ เป็นอันดับที่มีแมลงมากถึง 40% ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมดได้แก่แมลงที่เรียกว่า ด้วง มอด หรือแมลงปีกแข็ง ลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด สำหรับแมลงในอันดับนี้ก็คือ
ปีกคู่หน้ามีความแข็งใกล้เคียงกับลำตัว

แมลงในอันดับโคลีออพเทอราจะประกอบด้วยแมลงขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ตัวเต็มวัยส่วนใหญ่มีปีก 2 คู่ มีน้อยชนิดที่ไม่มีปีก ลักษณะของปีกคู่หน้าเป็นแผ่นแข็ง หนา เรียกว่า Elytra ทำหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มลำตัว เมื่อพับปีกขอบปีกคู่หน้าด้านท้ายปีกจะจรดก้นที่กึ่งกลางสันหลังของลำตัวพอดี ปีกคู่ที่สองเป็นแผ่นบาง มีขนาดกว้างใหญ่มักจะยาวกว่าปีกหน้า เมื่อพับปีกจะซ้อนพับเก็บอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นแบบกัดกิน หนวดเจริญดี ตารวมโตเห็นได้ชัด อกปล้องแรกใหญ่เคลื่อนไหวได้และเห็นได้ชัดเจนกว่าปล้องอื่นๆ อกปล้องกลางเล็ก การเจริญเติบโตเป็นแบบ Complete Metamorphosis ส่วนใหญ่ตัวหนอนเป็นแบบ Campo deiform หรือ Eruciform ส่วนน้อยเป็นแบบไม่มีขา

2.2 ลำดับขั้นการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต
เพื่อเข้าใจกายวิภาคของมอดข้าวสารหรือด้วงงวงข้าวมากขึ้น ตลอดจนลักษณะการดำรงชีวิต การสืบพันธุ์ และอื่นๆ จึงได้ทำการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตของมอดข้าวสาร เพื่อศึกษาลักษณะต่างของสิ่งมีชีวิตด้วยการจำแนก โดยได้ลำดับขั้นดังนี้

มอดข้าวสาร Rice Weevils อาณาจักร (Kingdom) Animalia

ไฟลั่ม (Phylum) Arthropoda

ไฟลั่มย่อย (Subphylum) Uniramia

กลุ่มชั้น (Superclass) Hexapoda

ชั้น (Class) Insecta

ชั้นย่อย (Subclass) Pterygota

กลุ่มอันดับ (Superorder) Neuropteroid

อันดับ (Order) Coleoptera

อันดับย่อย (Suborder) Polyphaga

กลุ่มวงศ์ (Superfamily) Curculionoidea

วงศ์ (Family) Curculionidae

วงศ์ย่อย (Subfamily) Dryophthorinae

เผ่า (Tribe) Sitophilini

สกุล (Genus) Sitophilus

ที่มา :
http://www.oknation.net/blog/tensor/2009/03/24/entry-3

====================================================================

วงจรชีวิตของมอดข้าวสาร

1. The rice weevil (Sitophilus oryzae L.)

Order Coleoptera, Family Curculionidae

The weevil is brown to black with two paler reddishbrown patches on each elytra, 2-3 mm
long. The female lays about 200 eggs in the grain and the larva feeds and pupates in the
grain. The incubation period lasts 36 days, the larval and pupal period is 20-30 and 3-7
days respectively. The life cycle is completed in 30-40 days.

ที่มา :
http://www.fao.org/docrep/x5036e/x5036E0y.htm

====================================================================

Lifecycle

* Adults are good fliers and easily disperse. Adults chew into the grain kernels from the
outside and also to lay eggs. Females can lay 300 to 400 eggs typically one per cavity.
Larvae develop through several stages (instars) inside the grain kernels and also pupate
inside the kernel. They may complete a generation in a month in warm conditions. Adults
often live for 7 to 8 months and some records are over 2 years.

* The egg, larva, and pupa stages of both weevils occur in the grain kernels and are
rarely seen. Feeding is done within the grain kernel, and adults cut exit holes to emerge.
Emergence holes of the granary weevil are larger than those of the rice weevil, and tend to
be more ragged than smooth and round. Females drill a tiny hole in the grain kernel; deposit
an egg in the cavity, then plug the hole with a gelatinous secretion. The egg hatches into
a young larva which bores toward the centre of the kkernel, feeds, grows, and pupates
there. New adults bore emergence holes from the inside, then leave to mate and begin a
new generation.

* Female granary weevils lay from 36 to 254 eggs. At 80 to 86 degrees F, 75- to
90-percent relative humidity, eggs hatch in wheat with a moisture content of 13.5 to 19.6
percent in 3 days. Larvae mature in 18 days, and the pupa in 6 days. The life cycle is about
30 to 40 days during the summer, and 123 to 148 days during the winter, depending on
temperature. Adults live 7 to 8 months. Female rice weevils lay between 300 to 400 eggs,
with the life cycle requiring about 32 days for completion. Rice weevil adults live 3 to 6
months, infesting grain in the field, especially in the South. Two larvae can develop in one
wheat kernel, but only one larva of the granary weevil can develop per wheat kernel. Both
granary and rice weevils feign death by drawing up their legs close to the body, falling, and
remaining silent when disturbed.

ที่มา :
http://www.kznhealth.gov.za/environ/vector/riceweevil.htm

====================================================================

ประมวลภาพหลากหลายแบบของมอดข้าวสาร Sitophilus oryzae (Linnaeus)

ภาพวงจรชีวิต

ภาพการพัฒนาการของดักแด้มอดข้าวสาร Sitophilus oryzae (Linnaeus)

ภาพการเข้าทำลายฝักข้าวโพดของตัวอ่อนมอดข้าวสาร Sitophilus oryzae (Linnaeus)

ภาพของตัวอ่อน(หนอน)ของมอดข้าวสาร Sitophilus oryzae (Linnaeus)

ภาพการเข้าทำลายพืชต่างๆ เช่น ข้าวโพด(Corn), ข้าวสาลี(Wheet)

วิธีกำจัดมอดข้าวสาร

1. หากเป็นการกำจัดในระดับโรงเก็บหรือยุ้งฉาง ต้องคลุมผ้าใบ แล้วรมควันด้วย เมธิลโบรไมด์ สามารถศึกษาได้จากเว็บนี้ได้ครับ

Arrow Arrow
การกำจัดในระดับโรงเก็บหรือยุ้งฉาง คลิกดูได้จากที่นี่

2. หากเป็นการกำจัดในระดับครัวเรือน คือซื้อข้าวมาหุงกินในระดับ 15 ถึง 100 กิโลกรัม แล้วกินไม่ทัน มอดลงไปจัดการกินข้าวและวางไข่เสียแล้ว อย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นสูตรชาวบ้าน ที่บอกว่าให้ใส่พริกแห้ง หรือ ใบมะกรูด หรือ ลูกมะนาว หนักถึงขั้นบางคนก็ว่าเอาตะปูเหล็ก ใส่ลงไป เพื่อไล่บ้างละ บางคนก็ให้เอาไปแช่ในช่องเย็นแช่แข็ง3 วันบ้างล่ะ (พวกนี้เป็นสัตว์เลือดเย็น มีน้ำในตัวน้อยมาก พอ ออกจากช่องแช่แข็งมันสามารถฟื้นได้ครับ) ล้วนเป็นวิธีการที่ไม่ได้ผล เพราะมันวิธีการทางไสยศาสตร์(มั้ง) แต่วิธีที่จะบอกกล่าวนี้เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ได้ และแค่ฟังหลักการ ก็ถึงบางอ้อแล้วครับ ปลอดภัยต่อการบริโภค ทำง่าย ประหยัดพลังงานมาก วิธีทำดังนี้

1. หาถุงร้อนขนาด 7×11 นิ้ว มาให้เพียงพอที่จะแบ่งบรรจุข้าวสารที่มีมอดขึ้น ให้เพียงพอ.
2. หาถ้วยมาตักข้าวสารที่มีมอดบรรจุใส่ถุง ใส่ให้เต็มถุงพอให้มัดหนังยางได้ (จะได้ข้าวสารหนักประมาณกิโลเศษๆ ต่อถุง)
3. มัดหนังยางปากถุงให้สนิท
4. นำข้าวสารที่เตรียมเสร็จแล้วไปเข้าเตาไมโครเวฟ แล้วปรับปุ่มที่ไมโครเวฟไปยัง ช่องของละลายน้ำแข็ง(defroze)
****** ขอย้ำว่าปรับปุ่มที่ไมโครเวฟไปยังช่องของละลายน้ำแข็ง(defroze)******เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวสารสุกหรือไหม้
5. ตั้งเวลาให้ไมโครเวฟทำงานเป็นเวลา 7 นาที ข้าวจะร้อนขึ้นและถ่ายเทความร้อนไปสู่ ตัวมอด รวมถึงตัวหนอนจะตายเพราะความร้อนของข้าวสาร โดยจะหนีออกมาตายที่ผิว ของถุงพลาสติกด้านในจนหมด เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟ จะทะลุทะลวงเมล็ดข้าวไปถึงยังข้าวสารชั้นในสุด มอด และตัวหนอน(ลูกๆของมอด) จึงพยายามตะเกียกตะกายออกมาที่ด้านนอกของข้าวสาร แต่จะติดที่ถุงด้านใน เพราะเราเอายางรัดไว้ที่ปากถุง เมื่อมันหนีออกมาไม่ได้มันจึงตายภายในถุงนั้นแหละ เหมือนที่เขาคั่วเกาลัดโดยคั่วในทรายร้อนนั่นแหละ…. หลักการเดียวกัน (โปรดทราบว่าคลื่นไมโครเวฟไม่สามารถฆ่ามอดโดยตรงได้เพราะตัวมันมีน้ำน้อยมาก จึงไม่ทำให้มันสุกได้)….. จากนั้นให้เอาถุงข้าวสารออกมาจากตู้อบไมโครเวฟ
6. นำข้าสารถุงใหม่เข้าไมโครเวฟ ทำอย่างนี้ไปจนกว่าข้าวสารที่เตรียมไว้จะหมด
7. เปิดปากถุงที่รัดด้วยยาง ออกเพื่อให้ไอน้ำที่เกาะภายในถุงได้ระเหยออกไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
8. ปิดปากถุงด้วยยางรัดอีกครั้งแล้วนำไปเก็บในถังข้าวสาร เพื่อไว้หุงต่อไป

วิธีการนี้ฆ่าได้ 100 % และไม่แนะนำให้ใช้วิธีการนึ่งด้วยไอน้ำ เพราะมอดจะเข้าไปชั้นในสุด ของถุงข้าวสารทำให้มันไม่ตายครับ และมันจะใช้เวลาและพลังงานที่มากกว่าการใช้ไมโครเวฟมากกว่ากันหลายเท่านัก

ดูที่รูปครับ อันนี้ผมทดลองเองแล้วได้ผลดีจึงนำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทาน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ แต่ใครจะก๊อบปี้ไปเผยแพร่ต่อกรุณาให้เครดิต
www.kasate.com ด้วยนะครับ

จากภาพด้านล่างนี้ โปรดสังเกตุ ว่ามอดข้าวสาร ตายเรียบ ทั้งตัวอ่อน(หนอน) และตัวแก่

ส่วนภาพนี้เอาภาพเต็มๆจากกล้องโดยตรง (7ล้านพิกเซล) ให้เห็นกันชัดๆ ถึงอาการ มอดข้าวสารตายเรียบยกถุง

จากบทความที่หามาจากอินเตอร์เน็ตหลายๆ ที่ ผมก็เจอของ "เกษตรดอทคอม" นี่แหล่ะครับ ที่ดูจะเป็นวิทยาศาสตร์มากที่สุดครับ