ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อการแพร่ระบาดของยุงก้นปล่อง ได้แก่
- อุณหภูมิ (Temperature)ยุงเป็นสัตว์เลือดเย็นดังนั้นอุณหภูมิเป็นตัวแปรที่สำคัญในการดำเนินชีวิตของยุง เมื่ออุณหภูมิในสิ่งแวดล้อมลดต่ำลงนั้น ยุงจะมีการปรับอุณหภูมิร่างกายให้น้อยลงด้วย ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 25-27 องศาเซลเซียส แต่การเจริญเติบโตของยุงจะหยุดชะงักเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 10 และสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
- ความชื้น (Humidity)
ความชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับการแพร่กระจาย ยุงจะมีความไวต่อความแห้งแล้งสูง ในฤดูร้อนในบ้านมักพบยุงในที่ที่มีความชื้นสูง ภายนอกบ้านยุงจะเกาะพักตามพุ่มไม้ใกล้พื้นดิน ในเวลากลางวันยุงจะเกาะพักอย่างสงบในที่ชื้นเย็น และเมื่อพลบค่ำลงอุณหภูมิภายนอกลดต่ำลง ยุงจะมีการเคลื่อนไหวมากยิ่งขึ้น - ปริมาณน้ำฝน (Rainfall)
ปริมาณน้ำฝนมีอิทธิพลต่อยุงเช่นกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพท้องที่เป็นสำคัญ ถ้าพื้นที่นั้นมีน้ำท่วมอยู่ ปริมาณของยุงก็จะน้อยลงเพราะไข่ของยุงได้ถูกน้ำพัดพาออกไปยังที่อื่น ทำให้ลดการแพร่ระบาดของยุงได้ขณะหนึ่ง แต่ถ้าระดับน้ำลดระดับลงเป็นน้ำท่วมขังนั้น ปริมาณการแพร่ระบาดของยุงก็จะเพิ่มขึ้น ยุงพาหะแต่ละชนิดจะเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำต่างๆ กัน เช่น Anopheles sundiacus ชอบเพาะพันธุ์ในน้ำกร่อย , An. minimus ชอบเพาะพันธุ์ในลำธารที่ไหลช้าๆ เป็นต้น - แสงสว่าง (Light)
แสงสว่างมีอิทธิพลต่อยุงในส่วนที่เกี่ยวกับการหาอาหารเลือด และการเกาะพักส่วนใหญ่ยุงก้นปล่องมักจะหาอาหารหรือเลือดในเวลากลางคืน แต่ก็มีบางชนิด เช่น An. cruzi และ An. bellator จะเข้ากัดทั้งกลางวัน
และกลางคืน ยุงที่มีนิสัยชอบเกาะพักในบ้าน เช่น An. gambiae และ An. stephesi ที่อุณหภูมิปกติจะบินออกจากบ้าน เมื่อความเข้มข้นของแสงสว่างลดลงหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับยุงท้องแก่เพื่อบินไปหาแหล่งวางไข่ ในตอนเช้ายุงจะบินไปหาแหล่งเกาะพักที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความเข้มแสง และความชื้นเป็นสำคัญ
[av_gallery ids='352,351,350,349' style='thumbnails' preview_size='portfolio' crop_big_preview_thumbnail='avia-gallery-big-crop-thumb' thumb_size='portfolio' columns='4' imagelink='lightbox' lazyload='avia_lazyload' av_uid='av-6ull0']