ยุงก้นปล่องมีวงจรชีวิตเป็นแบบสมบูรณ์คือมีระยะในการเจริญครบตามการเจริญของแมลงทั่วๆ ไป คือมีการเจริญเติบโต 4 ระยะด้วยกัน ได้แก่ ระยะไข่, ระยะลูกน้ำ, ระยะดักแด้ และเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย ซึ่งในแต่ละระยะของยุงก้นปล่องก็จะมีลักษณะต่างๆ ดังนี้
- ระยะไข่ ไข่ของยุงก้นปล่องจะฟักในน้ำเสมอ อาจเป็นน้ำจืด น้ำกร่อยแล้วแต่ชนิดของยุง ระยะไข่จะแตกต่างโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่2-3 วัน ไข่เริ่มแรกจะมีสีขาว จากนั้นจะค่อยๆ
กลายเป็นสีเทา และกลายเป็นสีดำในที่สุด ไข่ของยุงก้นปล่องจะมีทุ่นลอยเพื่อช่วยพยุงในการลอยตัวบนผิวน้ำเกาะกันเป็นกลุ่ม
- ระยะลูกน้ำ ลูกน้ำของยุงก้นปล่องจะมีการเจริญเติบโตอยู่ในฟองไข่ และจะเจาะเปลือกไข่ออกเมื่อถึงเวลาฟักตัวสู่ภายนอก ในระยะลูกน้ำยุงก้นปล่องจะมีการลอกคราบทั้งหมด 3 ครั้ง ในแต่ละปล้องของส่วนท้องจะมีขนยื่นยาวออกมา ตัวนี้เพื่อช่วยในการกวาดอาหารเข้าสู่ปากได้โดยง่าย
- ระยะดักแด้ หลังจากการเจริญเติบโตในช่วงของการเป็นตัวอ่อนแล้วก็จะพัฒนาเข้าสู่ระยะของการเป็นดักแด้ ดักแด้จะมีลักษณะโค้งส่วนหัวลง ในระยะนี้จะไม่มีการกินอาหาร และมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง ลักษณะโดยภาพรวมจะคล้ายเลข ๑ ดักแด้ในระยะแรกจะมีสีเทา จากนั้นจะมีสีเข้มขึ้นจนเป็นสีดำ ใช้เวลาเป็นดักแด้โดยเฉลี่ย 2-3 วัน จึงกลายเป็นยุงตัวเต็มวัย
- ระยะยุงตัวเต็มวัย ในช่วงที่ยุงตัวเต็มวัยจะออกจากดักแด้ โดยผนังส่วนอกด้านบนจะแยกออก โดยส่วนอกของยุงจะเป็นส่วนแรกที่โผล่ออกมา จากนั้นจะตามมาด้วยส่วนของท้อง รวมทั้งขา ยุงจะพักตัวนานประมาณ 5-10 นาที ตัวยุงก็พร้อมที่จะบิน