ยุงลาย

ในบทความตอนที่แล้วเราได้ทราบแล้วว่าการเจริญเติบโตของยุงมีรูปแบบการเจริญเติบโตต่างๆ กันในแต่ละช่วงวัย ซึ่งรูปแบบในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตนี้ก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของยุง วันนี้เรามาเริ่มกันที่ยุงลายกันก่อน แบ่งการเจริญเติบโตเป็น 4 ระยะซึ่งในแต่ละระยะของการลอกคราบจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ชนิดคือ ฮอร์โมนสมอง (brain hormone)

ระยะไข่
ไข่ของยุงลายจะมีลักษณะเป็นวงรี ยุงลายจะวางไข่เดี่ยวๆตามขอบน้ำเหนือระดับน้ำขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อไข่ฟักออกมาใหม่ๆ จะมีสีขาว ส่วนใหญ่ติดอยู่ข้างภาชนะเหนือระดับน้ำเล็กน้อย ไข่ยุงลายจะสามารถมีอยู่ในสภาพแห้งแล้งได้เป็นปีและจะฟักออกมาอย่างรวดเร็วเมื่อมีน้ำท่วมถึง ในแต่ละครั้งยุงลายจะวางไข่ได้ประมาณ 50-150 ฟอง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของตัวยุงและปริมาณเลือดที่ได้รับ ตลอดชีวิตวางไข่ได้ 1-7 ครั้ง

ระยะลูกน้ำยุงลาย

fly_image03 fly_image02
ในระยะนี้มีการเจริญเติบโตมี 4 ระยะ จะใช้เวลาในการเจริญเติบโตประมาณ 5-7 วัน ชอบอยู่อาศัยที่อุณหภูมิประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส ในขณะที่เป็นลูกน้ำจะหายใจด้วยรูหายใจที่อยู่ด้านข้างลำตัว และท่อหายใจที่อยู่ตรงปลายของส่วนท้องเรียกว่า “Siphon” ลูกน้ำยุงจะผ่านการลอกคราบเพื่อการเจริญเติบโต ในช่วงนี้ลูกน้ำยุงจะกินอาหารอย่างเต็มที่อาหารของลูกน้ำยุงได้แก่ ตะไคร่น้ำ อินทรีย์สารต่างๆ และจุลินทรีย์เล็กๆ ในแหล่งน้ำ ลูกน้ำจะกินอาหารบริเวณด้านข้างและก้นภาชนะ จากนั้นจะเข้าสู่ระยะดักแด้ หรือที่เรียกว่า”ตัวโม่ง” นั่นเอง สำหรับระยะต่อไปของยุงลายติดตามได้ในบทความตอนต่อไปนะคะ