ยุงลาย(ต่อ)
ในบทความตอนที่แล้วเราได้ทราบถึงระยะการเจริญเติบโตของยุงลายในระยะไข่และระยะตัวอ่อนหรือระยะลูกน้ำกันไปแล้ว เรามาดูระยะการเจริญเติบโตต่อไปของยุงลายกันต่อไปนะคะ เมื่อตัวอ่อนลอกคราบจนครบ 4 ครั้งแล้วก็จะเข้าสู่ในระยะของการเป็นดักแด้หรือที่เรารู้จักกันว่า”ตัวโม่งยุง” นั่นเอง ตัวโม่งเมื่อออกมาใหม่ๆ จะมีสีน้ำตาลอ่อน และจะค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำ เราจะเห็นลอยอยู่บนผิวน้ำ เมื่อถูกรบกวนจะเคลื่อนที่เร็ว จะใช้เวลาในการเจริญเติบโตในช่วงที่เป็นดักแด้ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นก็จะเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย
[av_one_third first av_uid='av-6v3q']
[/av_one_third]
[av_one_third av_uid='av-d4pxq']
[/av_one_third]
[av_one_third av_uid='av-a5pba']
[/av_one_third]
ยุงลายในระยะตัวเต็มวัย ยุงลายที่เราเห็นแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกนั้นในประเทศไทยมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือยุงลายบ้านและยุงลายสวน ยุงลายบ้านจะมีลายสีขาวบริเวณที่ส่วนอกเป็นรูปเคียว ส่วนยุงลายสวนจะมีลายสีขาวบนส่วนอกเป็นรูปขีดตรง ยุงลายจะมีลักษณะที่เห็นได้ชัดว่ามีสีซีด ที่ลำตัวและขาจะมีจุดลายดำสลับขาว ยุงแบ่งออกเป็น 2 เพศคือเพศผู้และเพศเมีย ยุงเพศผู้จะหนวดเป็นแบบพู่ขนนก ยุงเพศเมียจะมีหนวดที่บางและสั้นกว่า ยุงเพศผู้จะกินน้ำหวาน แต่ยุงเพศเมียนอกจากน้ำหว่านแล้ว ยุงเพศเมียยังต้องการเลือด สำหรับใช้ในการวางไข่ ในการวางไข่แต่ละครั้งจะสมบูรณ์หรือไม่ขึ้นกับปริมาณเลือดที่ได้รับ ยุงเพศเมียจะดูดกินเลือดเหยื่อจนอิ่ม แต่ถ้าถูกรบกวนในระหว่างการดูดกิน แต่ถ้าถูกรบกวนก็จะกลับมากินเหยื่อเดิม แต่ถ้าไม่ได้เหยื่อรายเดิม ก็จะไปหาเหยื่อรายใหม่ ยุงเพศผู้จะมีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน ขณะที่ยุงเพศเมียมีอายุ 1-3 เดือน
จะเห็นได้ว่ายุงเพศเมียมีความพยายามและอดทนมากในการดูดกินเลือด ดังนั้นเราต้องมีวิธีที่ดีในป้องกันการเข้ามาดูดเลือดของยุง เพราะเราไม่รู้แน่ๆ ว่ายุงตัวที่มากัดเราจะมีเชื้อพาหะอยู่ในตัวหรือไม่