1609225539

ยุงลายเสือ (Mansonia spp.)

บทความที่ผ่านมาทั้งหมดเป็นความรู้เกี่ยวกับยุงก้นปล่องที่เป็นยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรียแล้ว ยุงเป็นแมลงที่อันตรายเพราะเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดด้วยกัน โรคเท้าช้างเป็นโรคติดต่อจากยุงอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญมาก โดยยุงลายเสือจะเป็นพาหะนำโรคตัวอ่อนพยาธิโรคเท้าช้าง ชนิด Brugia malayi หรือไมโครฟิลาเรีย (microfilaria) พบมากทางภาคใต้ และจังหวัดแนวตะเข็บชายแดนของประเทศไทย

ยุงลายเสือ หรือยุงแมนโซเนียเป็นยุงที่มีลักษณะสีสันลวดลายสวยงาม เนื่องจากเกล็ดบนตัวจะมีขนาดใหญ่และลวดลายสีเข้มกว่ายุงชนิดอื่นๆ ยุงลายเสือจะหายใจผ่านทางท่อหายใจที่มีความแข็งแรงและสามารถแทงผ่านทะลุรากพืชหรือลำต้นของพืชน้ำได้ เนื่องจากการแลกเปลี่ยนออกซิเจนของยุงลายเสือนี้ จะแลกเปลี่ยนโดยจะรับเอาออกซิเจนจากรากหรือลำต้นพืชน้ำ เมื่อยุงลายเสือกัดคนที่มีเชื้อไมโครฟิลาเรีย และดูดเลือดที่มีพยาธินี้เข้าไป ไมโครฟิลาเรียจะเข้าไปเจริญอยู่ในตัวยุงนานประมาณ 7-14 วัน จนเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาและจะเคลื่อนที่เข้าสู่ปากยุง เมื่อยุงมากัดคนตัวอ่อนระยะติดต่อนี้จะไชผ่านผิวหนังบริเวณแผลที่ยุงกัด และเข้าไปเจริญและเพิ่มจำนวนในคน ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดภาวะโรคเท้าช้างได้

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของยุงเสือ

210349-002

  1. ลำตัวมีขนาดใหญ่
  2. เกล็ดที่ปกคลุมปีกมีขนาดใหญ่และค่อนข้างกลม สีดำสลับสีขาว
  3. บริเวณขาจะมีสีแบบตกกระ มีแถบขาวล้อมรอบ
  4. ตรงส่วนปลายของท้องจะมีลักษณะเป็น 3 พู แต่ละพูมีขนยาว 1 กระจุก

ในบทความตอนนี้เราได้ทราบเกี่ยวกับลักษณะทางสัณฐานวิทยาในเบื้องต้นกันแล้ว ในบทความตอนหน้าเรามาทำความรู้จักเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะอื่นๆ รวมถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากยุงลายเสือนี้ ติดตามได้ในบทความตอนต่อไปได้ค่ะ