จากที่ผ่านมาเราได้ทราบถึงลักษณะทางชีววิทยา รวมถึงลักษณะทางนิเวศวิทยากันแล้วนั้น ในบทความตอนนี้ เรามารู้จักกันว่ายุงพาหะนำโรคมาลาเรียมีกี่ชนิดแล้วมีกี่ชนิดที่พบในประเทศไทย
จาการสำรวจพบว่าในประเทศไทยมียุงก้นปล่องอยู่ประมาณ 67 ชนิด แต่ที่ได้รับการพิสูจน์พิสูจน์แล้วว่าเป็นพาหะนำโรคเชื้อไข้มาลาเรีย มีอยู่ 5 ชนิดด้วยกันคือ Anopheles dirus, An. maculatus, An. minimus, An. sundiacus และ An. aconitus
ซึ่งสามารถแบ่งแยกได้เป็น 4 พวก ตามความสำคัญต่อการแพร่เชื้อไข้มาลาเรีย
- ยุงพาหะหลัก ถือว่าเป็นยุงก้นปล่องที่มีบทบาทสูงในการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียในท้องที่ป่าและเขา และเชิงเขา Anopheles dirus, An. minimus, An. maculatus
- ยุงพาหะรอง เป็นยุงก้นปล่องที่มีบทบาทในการแพร่เชื้อไข้มาลาเรีย รองลงมาจากพวกแรก ในท้องที่ชายทะเล และท้องที่ราบทุ่งนา ได้แก่ An. sundaicus, An. aconitus
- ยุงที่สงสัยว่าเป็นพาหะ บทบาทการแพร่เชื้อยังไม่ทราบแน่ชัด ในบางท้องที่ที่มีการแพร่เชื้อเกิดขึ้น ปรากฏว่าไม่พบยุงพาหะพวกที่1 หรือ 2 แต่ยุงพวกนี้ชุกชุมสูง จึงทำให้สงสัยว่าอาจเป็นพาหะนำเชื้อได้ An. philliinensis, An. campestris, An. cilicifacies
- ยุงที่ยังไม่พบว่าเป็นพาหะ ได้แก่ยุงก้นปล่องชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ปัจจัยในการเป็นพาหะนำโรค ยุงพาหะแต่ละชนิดมีความสามารถเป็นยุงพาหะนำเชื้อไข้มาลาเรียได้ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ คือ
- มีความไวต่อเชื้อ
- อายุยืนยาวพอที่จะแพร่เชื้อได้
- นิสัยชอบกัดคนสูง
- ความหนาแน่นสูงพอ