1609225539

ยุงก้นปล่องนำโรค…มาลาเรีย

ที่ผ่านมาเราได้รู้จักเกี่ยวกับชีววิทยาของยุง รวมถึงวิธีการในการป้องกกันกำจัดกันมาบ้างแล้ว แต่อย่างที่เคยได้บอกไปแล้วในบทความที่ผ่านมาว่า ยุงแต่ละชนิดจะเป็นพาหะนำโรคที่แตกต่างกัน เช่น ยุงลายนำโรคไข้เลือดออก ส่วนยุงที่เป็นนำโรคไข้มาลาเรียก็คือยุงก้นปล่อง เรามารู้จักยุงก้นปล่องให้ดีกันดีกว่า เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านการป้องกันตัวเองจากการถูกกัดและเป็นโรคไข้มาลาเรีย

ไข้มาลาเรียนั้นเกิดจากยุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค และที่เรียกอย่างนี้ เพราะเวลาที่ยุงกัดคน มันจะเกาะโดยยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศา บางคนอาจเรียกด้วยความเคยชินว่ายุงก้นป่อง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จากการสำรวจยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรคมาลาเรียในประเทศไทยพบว่าสายพันธุ์ยุงก้นปล่องมีอยู่ประมาณ 67 ชนิด ซึ่งใน 67 ชนิดนี้ไม่ทุกสายพันธุ์ที่เป็นพาหะนำโรค ในประเทศมีอยู่ 5 ชนิดที่เป็นปัญหาหลัก ได้แก่ Anopheles minimus, An. aconitus

ยุงมีปากที่เป็นท่อแหลมสำหรับดูดเลือดจากคนเพื่อเอาโปรตีนไปสร้างไข่ ยุงตัวเมียมักออกหาเหยื่อเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อเจาะผิวหนังเพื่อดูดกินเลือด กระบวนการนี้ ตามปรกติจะดำเนินไปโดยเหยื่อไม่รู้ตัว เนื่องจากยุงจะปล่อยน้ำลายออกมา เพื่อทำหน้าที่เป็นยาชา ทำให้คนถูกกัดไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งน้ำลายนี่เองที่มีเชื้อมาลาเรีย โดยยุงได้เชื้อนี้จากคนที่มันไปกัดมาก่อน

260149-002

ยุงก้นปล่องเป็นยุงที่มีปากที่เป็นท่อแหลมสำหรับดูดเลือดจากคนเพื่อเอาโปรตีนไปสร้างไข่ ยุงตัวเมียมักออกหาเหยื่อเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อเจาะผิวหนังเพื่อดูดกินเลือด กระบวนการนี้ ตามปกติจะดำเนินไปโดยเหยื่อไม่รู้ตัว เนื่องจากยุงจะปล่อยน้ำลายออกมา เพื่อทำหน้าที่เป็นยาชา ทำให้คนถูกกัดไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งน้ำลายนี่เองที่มีเชื้อมาลาเรีย โดยยุงได้เชื้อนี้จากคนที่มันไปกัดมาก่อน เมื่อคนได้รับทำให้เป็นโรคไข้มาลาเรียได้

สำหรับเนื้อหาทางด้านอื่นๆ ของยุงก้นปล่องจะได้นำเสนอต่อไปในบทความตอนหน้า ติดตามได้นะคะ