ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียในธรรมชาติ ได้แก่ เชื้อไข้มาลาเรีย ยุงพาหะ และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กัน และมีบทบาทร่วมกันในการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียในแต่ละท้องถิ่น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะปัจจัยทางกีฏวิทยา
ความหนาแน่น (Vector density) ความหนาแน่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เข้ากัดคน มีความสำคัญมากต่อการแพร่เชื้อไข้มาลาเรีย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาล เนื่องจากยุงพาหะแต่ละชนิดจะมีแหล่งเพาะพันธุ์ที่ต่างกันออกไป
นิสัยในการกัดกินเลือด(Host Preference) จะมีความสามารถในการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียสู่คนได้สูง ยุงพาหะที่มีนิสัยชอบกัดสัตว์สูง จะมีโอกาสแพร่เชื้อไข้มาลาเรียสู่คนได้ต่ำ ในประเทศไทยพบว่ายุงพาหะ
ความถี่ของการกัดคน (Frequency of biting man) โดยทั่วไปยุงพาหะจะเข้ากัดคนทุก 2-4 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาล (อุณหภูมิ) เป็นสำคัญ เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยลดลง ระยะเวลาที่ใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ยาวนานขึ้น การเข้ากัดคนก็จะน้อยลงทำให้โอกาสของการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียลดลงด้วย
อายุขัย (Longevity) ถ้ายุงมีอายุยืนยาว โอกาสที่จะแพร่เชื้อไข้มาลาเรียก็จะสูงกว่ายุงที่มีอายุสั้นกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากพบเชื้อในต่อมน้ำลายแล้ว ถ้ายุงมีอายุอยู่ได้นานหลายวันโอกาสแพร่เชื้อก็จะสูง เช่น ถ้าหลังจากพบเชื้อ ในต่อมน้ำลายแล้ว ยุงยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก 10 วัน ก็จะมีโอกาสแพร่เชื้อไข้มาลาเรียได้ถึง 5 คน (เมื่อยุงเข้ากัดคนทุก 2 วัน) แต่ถ้ามีโอกาสมีชีวิตอยู่ต่อไปได้เพียงอีก 4 วัน โอกาสแพร่เชื้อสู่คนก็ลดน้อยลงเหลือเพียง 2 คน
ระยะบินไกล (Flight range) ยุงพาหะแต่ละชนิดมีระยะบินไกลได้แตกต่างกัน ทั้งนี้มีองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมาก เช่น ทิศทางลม ท้องที่ ระยะทางที่บิน ว่ามีความใกล้ ไกลเพียงใดจากแหล่งเพาะพันธุ์ และเหยื่อเป็นต้น ถ้ายุงพาหะบินได้ไกลก็สามารถแพร่เชื้อไปได้กว้างขวางมาก ยุงพาหะบางชนิดสามารถไปแพร่เชื้อไข้มาลาเรียในท้องที่ห่างไกลออกไปโดยติดไปกับเครื่องบิน เรือ รถยนต์ หรือยานพาหนะอื่นๆ ได้