1609225539

ปลวก (Termite) ตอนที่ 2

ในคราวก่อนเราได้ทำความรู้จักกับแมลงศัตรูตัวร้ายที่มาแย่งชิงที่อยู่อาศัยของบ้านเรา นั่นก็คือ “ปลวก” กันมาบ้างแล้ว และอย่างที่ลงท้ายไว้ในคราวก่อนว่า การที่จะทำการป้องกันกำจัดปลวกให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ หนึ่งในวิธีการเหล่านั้น เราจะต้องรูจักถึงรูปร่างลักษณะ ลักษณะทางชีววิทยา รวมถึงวัฏจักรการดำเนินชีวิตของปลวกเสียก่อน

เรามาดูถึงรูปร่างลักษณะของปลวกกันก่อนนะคะ ปลวกเป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Isoptera ซึ่งปลวกจะมีลักษณะคล้ายมดมาก คนไทยเราจึงรู้จักปลวกในอีกชื่อหนึ่งว่า “มดขาว

ปลวกปลวก จัดเป็นกลุ่มแมลงสังคม ปลวก มีโครงสร้างของลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนของหัวเป็นที่ตั้งของอวัยวะในการรับความรู้สึกเสียส่วนใหญ่ เช่น หนวด 1 คู่ ลักษณะเป็นปล้องเล็กๆ ต่อกันคล้ายลูกปัด10-32 ปล้อง หน้าที่ของหนวดช่วยในการรับความรู้สึก นอกจากนี้ยังประกอบด้วยตาประกอบ 1 คู่ (ยกเว้น ปลวกงาน ที่จะไม่มีตา) มีปากอยู่ด้านล่างของหัว ปากจะมีส่วนของกรามและฟันเจริญดี

ปลวกส่วนอกประกอบด้วย อก 3 ปล้องแต่ละปล้องจะเป็นที่ตั้งของขาปล้องละ 1 คู่ ปีกของปลวกตัวเต็มวัยโดยปีกคู่หน้าจะตั้งอยู่ตรงส่วนของอกปล้องที่ 2 และปีกคู่หลังจะตั้งอยู่ตรงส่วน ของอกปล้องที่สุดท้าย

ส่วนท้องเป็นส่วนที่อยู่ต่อจากอกปล้องที่ 3 ลักษณะเรียงต่อกันทั้งหมดประมาณ 10 ปล้อง บริเวณด้านของส่วนท้องจะเป็นที่ตั้งของรูหายใจประมาณ 8 คู่ ปล้องท้ายๆ จะเป็นที่ตั้งของอวัยวะสืบพันธุ์ อวัยวะในการวางไข่ และอวัยวะที่จะใช้ในการขับถ่าย

สำหรับในคราวต่อไปเรามาทำความรู้จักกับปลวกในด้านอื่นๆ ต่อ อย่าลืมติดตามกันนะคะ

[tags]ชีววิทยาปลวก,ปลวก,ปลวกคืออะไร,มดขาว[/tags]