ในการปราบปลวกให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องศึกษาสภาพทางนิเวศวิทยาของปลวกด้วย บทความตอนนี้เรามารู้จักชนิดของปลวกว่ากี่ชนิดอะไรบ้างและแต่ละชนิดมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร ปลวกแต่ละชนิดจะมีอุปนิสัยในการกินและความเป็นอยู่ต่างๆ กัน
จากรายงานพบว่ามีปลวกทั้งหมดกว่า 2 พันชนิด มีเพียง 148 ชนิดที่เข้าทำลายอาคาร และมี 80 ชนิดที่อาจเป็นศัตรู สำหรับในประเทศไทยได้มีการสำรวจพบว่ามีปลวกอยู่ 27 สกุล 74 ชนิด ปลวกแบ่งตามที่อยู่อาศัยได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้คือ
ปลวกไม้เปียก
1.ปลวกที่อาศัยอยู่ในเนื้อไม้ (Wood dweller termites) จะอยู่เฉพาะในไม้บนดินเท่านั้น ไม้อาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ แบ่งปลวกจำพวกนี้ได้เป็น 2 ชนิด คือ
ปลวกไม้แห้ง
– ปลวกไม้เปียก (damp-wood termites) เป็นปลวกที่ต้องการความชื้นในการดำรงชีวิตสูง ได้แก่ปลวกที่อาศัยอยู่กับไม้ผุ ในสภาพที่ค่อนข้างเย็น ได้แก่ ปลวกในสกุล Kalotermes, Neotermes และ Glyptotermes เป็นต้น
– ปลวกไม้แห้ง (dry-wood termites) เป็นปลวกที่ชอบอาศัยอยู่ในที่แห้งแล้ง ต้องการความชื้นเล็กน้อยในการดำรงชีพ มักพบอาศัยอยู่ในท่อนไม้แห้ง เช่นไม้ที่นำมาเป็นโครงสร้างอาคารบ้านเรือน
2. ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน (Ground dweller termites) เป็นปลวกที่ต้องอาศัยอยู่ในดินหรือรังมีส่วนติดต่อกับพื้นดิน ปลวกพวกนี้จะมีความสัมพันธ์กับเห็ดรา และสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือน ไม้ล้ม ขอนไม้ตามพื้น และต้นไม้ยืนต้น ได้แก่ปลวกในสกุล Macrotermes, Odontotermes, Microtermes และ Coptotermes สามารถแบ่งปลวกจำพวกนี้ได้ 3 ชนิด
– ปลวกใต้ดิน (subterranean termites) เป็นปลวกที่ทำรังอยู่ใต้ดิน รังของปลวกชนิดนี้จะทำด้วยเศษไม้และดินรังจะมีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำอยู่ใต้พื้นดิน ที่เป็นปัญหาในประเทศไทยได้แก่ Coptermes havilandi จะพบอยู่ในตอไม้เก่าๆ นอกบ้าน ปลวกจะสร้างทางเดินซึ่งทำด้วยดินและมูลซึ่งขับถ่ายออกมาเป็นทางเดินคลุมตัวไม่ให้ถูกแสงสว่างและป้องกันศัตรู
ปลวกใต้ดิน
ปลวกที่สร้างจอมปลวก
– ปลวกที่สร้างจอมปลวก (mound-building termites) จอมปลวกที่เราเห็นกันจะเป็นการสร้างมาจากน้ำลายผสมกับมูลดินจนมีความแข็งแกร่ง บางชนิดจะทำความเสียหายให้กับบ้านเรือนได้เช่น Globitermes sulphureus ไม้ที่โดนทำลายจะกลวงเหลือแต่แผ่นบางๆ ภายนอกไว้เป็นโครง
– ปลวกที่ทำรังด้วยเศษไม้หรือเยื่อไม้ เป็นปลวกที่สร้างรังตามกิ่งไม้หรือโพรงไม้ จะสร้างรังโดยการนำเศษใบไม้เศษไม้ที่ย่อยแล้วมาผสมกับดิน รังจะมีรูปร่างค่อนข้างกลมคล้ายรังของต่อ แตน