1609225539

การแพร่กระจายของยุงลาย

ระยะการเจริญเติบโตของยุงลายเราได้ทราบกันแล้วว่ามีกี่ระยะ ในแต่ละระยะมีความแตกต่างและการดำรงชีวิตอย่างไร การแพร่กระจายของยุงลายเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อใดไม่มีรายงาน แต่คาดว่าน่าจะติดมากับภาชนะดินเผาจากประเทศจีนในหลายศตวรรษก่อน (Scanlon, 1965) สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการสำรวจว่าพบยุงลายในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2450 แต่ไม่ได้บอกแหล่งที่พบ
จากผลการศึกษาที่ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการแพร่กระจายของยุงลายบ้านถูกจำกัดด้วยความสูงของพื้นที่โดยไม่เคยพบยุงลายหลายชนิดที่ระดับความสูงกว่า 1,000 ฟุต ส่วนยุงลายสวนพบที่ระดับความสูง 6,000 ฟุต แต่ปัจจุบันพบว่าในบางประเทศเช่น อินเดีย โคลัมเบีย พบยุงลายบ้านที่ระดับความสูงกว่า 2,000 เมตร (WHO, 1997) สำหรับประเทศไทยไม่พบยุงลายที่ระดับความสูงกว่า 1,700 ฟุต

ARU (Aedes Reserch Unit) ได้แบ่งแหล่งอาศัยของยุงลายออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่
ก. แหล่งน้ำขังภายในบ้าน
– ตุ่มน้ำขังภายในบ้าน
– จานรองขาตู้กันมด
– ภาชนะน้ำขังอื่นๆ เช่น บ่อคอนกรีตในห้องน้ำ แจกันดอกไม้ จานรองกระถางต้นไม้ ขวดใส่น้ำ ถาดรองน้ำจากตู้เย็นและแอร์คอนดิชั่น ฯลฯ

fly_spray02
ข. แหล่งน้ำขังภายนอกบ้าน
– ตุ่มน้ำขังภายนอกบ้าน
– แหล่งน้ำขังอื่นๆ เช่น คอนกรีตใส่น้ำล้างเท้า ถังน้ำมันเก็บน้ำใช้ กระป๋อง ไหแตก ถ้วยแตก หม้อ แจกันที่ศาลพระภูมิ ภาชนะใส่น้ำเลี้ยงสัตว์ รางน้ำฝน เรือ ยางรถยนต์ ถ้วยใส่น้ำยางพารา ฯลฯ
– ภาชนะธรรมชาติ เช่น โพรงไม้ กะลา กาบใบไม้ เปลือกผลไม้ กระบอกไม้ไผ่ ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าแหล่งน้ำที่ยุงลายใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์มีมาก เราจึงควรต้องเพิ่มการตรวจตราดูแลแหล่งต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อลดการแพร่พันธุ์ของยุงลายกันนะคะ

ที่มา : ชีววิทยา นิเวศวิทยาและการควบคุมยุงในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข