1609225539

การต้านสารเคมีของยุงพาหะ (Insecticide Resistance)

คำจำกัดความ : การต้านได้แก่การที่เมื่อใช้สารเคมีฆ่าแมลงในขนาดหนึ่งที่สามารถฆ่ายุงได้ แต่ต่อมายุงสามารถมีชีวิตรอดได้เมื่อใช้สารฆ่าแมลงในขนาดเท่าเดิม หรือสามารถฆ่าได้ แต่ลดน้อยลง

การต้านสารฆ่าแมลงนี้สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีการทดสอบและเครื่องมือทดสอบขององค์การอนามัยโลก แต่ผลการทดสอบนี้ไม่ได้แสดงถึงภาพที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงในท้องที่ สำหรับประเทศไทย จากผลการทดสอบความไวของยุงพาหะทั้ง 5 ชนิด ต่อ DDT และเฟนิโตรไธออน พบว่ายังไวต่อเคมีทั้งสองอยู่ แต่ในบางท้องที่ในภาคเหนือมีแนวโน้มว่ายุงพาหะ An. minimus อาจเกิดการต้าน DDT ขึ้นได้ในอนาคต มียุงก้นปล่อง 3 ชนิดต่อต้านต่อ DDT การต้านต่อสารเคมีแบ่งได้ออกเป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ

  1. การที่ยุงสามารถต้านทานต่อเคมีฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิดได้เพิ่มขึ้น โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากบางฤดูกาลมีผลให้ยุงเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยา เช่น ทำให้ยุงมีขนาดโตขึ้น ผนังห่อหุ้มร่างกายหนาขึ้น ปริมาณไขมันในร่างกายมากขึ้น เป็นต้น140349-002
  2. การต้านทานชนิดนี้ถือเป็นการต้านทานที่แท้จริง เป็นการต้านทานที่เกิดขึ้นจากกลไกทางสรีรวิทยา โดยมีลักษณะทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย การใช้สารเคมีฆ่าแมลงเป็นการเร่งให้ยุงเกิดการต้านทานเคมีได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สารเคมีฆ่าแมลงในทางเกษตร ซึ่งใช้ในท้องที่โล่งกลางแจ้งอย่างกว้างขวาง ทำให้มีผลกระทบต่อลูกน้ำรวมทั้งยุงด้วย
  3. เป็นการต้านทานที่เกิดจากชีวนิสัยของยุงพาหะไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติของยุงพาหะเอง หรือเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนชีวนิสัยที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลของเคมีฆ่าแมลงที่ใช้ก็ตาม ทั้งนี้ยุงจะพยายามหลีกเลี่ยงที่จะสัมผัสกับเคมีฆ่าแมลง หรือสัมผัสแต่ในระยะเวลาเพียงสั้นๆ ทำให้สามารถมีชีวิตรอดไปทำการแพร่เชื้อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DDT ทำให้ยุงเกิดการต้านทานได้