จากบทความที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้ถึงวิธีการที่การกำจัดยุงโดยวิธีการใช้สารเคมีกันไปแล้ว แต่การใช้สารเคมีดังกล่าวนั้นเป็นการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ตกค้างสั้น และมีความปลอดภัยสูงต่อสิ่งแวดล้อม แต่กระแสการใช้สารเคมีนั้นได้ถูกต่อต้านกันมากขึ้น หลายต่อหลายที่พยายามหาสิ่งที่ใช้ในการกำจัดมาทดแทนการใช้สารเคมีหนึ่งวิธีการนั้นคือการใช้วิธีการทางชีววิทยาหรือวิธีการใช้สิ่งมีชีวิตด้วยกันในการป้องกันกำจัดยุง
การนำสิ่งมีชีวิตด้วยกันมาใช้ในการป้องกันกำจัดยุงนั้น จำเป็นต้องใช้ในปริมาณมากพอเพื่อให้เกิดการควบคุมที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และสามารถป้องกันกำจัดยุงพาหะได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
- การใช้ปลากินลูกน้ำ (Larvivorous fish)
การใช้ปลากินลูกน้ำขณะนี้มีหลายประเทศที่ใช้วิธีการนี้อยู่ เช่น ประเทศสเปน อิตาลี กรีก จีน มาเลเซีย ฯลฯ ปลาที่ใช้กินลูกน้ำจะเป็นกลุ่มพวกปลาหางนกยูง ซึ่งจะออกลูกเป็นตัวครั้งละ 30-100 ตัวต่อแม่ปลา 1ตัว จะเริ่มกินลูกน้ำยุงได้เมื่ออายุประมาณ 2 สัปดาห์ โดยผลจากการทดลองพบว่า อัตราการใช้ปลากินลูกน้ำที่ได้ผลคือลูกน้ำ 3-5 ตัวต่อพื้นผิวน้ำหนึ่งตารางเมตร ปลาจะสามารถกินลูกน้ำได้ทั้งในระยะไข่ ลูกน้ำ หรือแม้กระทั่งตัวดักแด้ยุงหรือตัวโม่งยุงก็สามารถป้องกันกำจัดได้ นอกจากนี้ยังมีปลานิล ปลาดุกจีน ปลาแกมบูเซีย ปลาแพนแชค ตระกูลเดียวกับปลาหัวตะกั่ว - ตัวห้ำ (Invertibrate predators)
ตัวห้ำเป็นศัตรูธรรมชาติที่สามารถควบคุมประชากรยุงได้ ตัวอ่อนแมลงปอ ลูกน้ำยุงยักษ์ ยุงยักษ์ตัวเมียไม่กินเลือด แต่ชอบกินลูกน้ำยุงก้นปล่องหรือยุงรำคาญหรือยุงลาย แต่การใช้ลูกน้ำยุงยักษ์นั้นอย่าใช้ร่วมกับฮอร์โมนไปยับยั้งการเจริญเติบโตของลูกน้ำเพราะฮอร์โมนไปยับยั้งการเจริญเติบโตจนกระทั่งลูกน้ำยุงยักษ์ตายได้ - หนอนพยาธิ (Nematode)
สามารถควบคุมลูกน้ำยุงได้มาก และสามารถรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดี โดยสามารถเพิ่มปริมาณได้เองตามธรรมชาติ แต่ปริมาณของหนอนพยาธิที่นำมาใช้ควบคุมนี้จะต้องมากพอ
ยังมีต่อนะคะสำหรับการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงโดยการใช้วิธีทางชีววิทยา เอาไว้ติดตามต่อไปในคราวหน้านะคะ