การควบคุมยุงลายด้วยวิธีต่างๆ

สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับยุงทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านต่างๆ เช่นการดำรงชีวิต ที่อยู่อาศัยและแหล่งเกาะพัก ในบทความนี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันกำจัดและควบคุมยุงลายให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการแรกที่จะนำเสนอคือวิธีการป้องกันกำจัดด้วยวิธีการใช้สารเคมี(Chemical control)

การควบคุมโดยวิธีการใช้สารเคมีนี้เราจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนที่ดีในการใช้ โดยต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความเป็นพิษของสารเคมีและองค์ประกอบที่สำคัญ นอกจากนี้เรายังต้องรู้ถึงฤทธิ์ตกค้างของสารว่าจะสามารถตกค้างนานแค่ไหน ที่เราต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีเหล่านี้ก็เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ใช้

021248_02

ประเภทของสารเคมีที่ใช้กันในประเทศไทยนั้นแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มดังนี้

  1. สารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine Compounds) สารในกลุ่มนี้ในอดีตเคยเป็นสารเคมีที่นิยมใช้กันมาก แต่ในปัจจุบันสารในกลุ่มนี้ได้ถูกยกเลิกแล้ว เหตุเพราะมีฤทธิ์ตกค้างนาน และเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสูง และเป็นสารก่อมะเร็ง ตัวอย่างของสารในกลุ่มนี้เช่น ดีดีที, BHC ส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นรูปแบบตะกอนแขวนลอย ซึ่งเหมาะที่จะใช้ในพื้นที่กว้างขวาง
  2. สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate Compounds) สารในกลุ่มนี้ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อทดแทนสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนคลอรีน สาเหตุเพราะมียุงพาหะมีการดื้อต่อสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนคลอรีน และแก้ปัญหาทางด้านของฤทธิ์ตกค้างนานของสารเคมี ซึ่งสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตนี้มีฤทธิ์มีฤทธิ์ตกค้างประมาณ 3-5 เดือน ตัวอย่างของสารเคมีกลุ่มนี้ได้แก่ malathion, fenitrothion, chlopyrifos ส่วนในประเทศไทยที่ใช้กันมากคือ temephos หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของทรายอะเบทนั่นเอง