เราได้เรียนรู้รูปแบบการใช้สารเคมีแบบต่างๆ ที่ใช้ในการกำจัดยุงกันแล้วในบทความที่ผ่านมา ในบทความนี้เราจะมารู้จักวิธีการกำจัดลูกน้ำยุงโดยวิธีการใช้สารเคมีกันต่อนะคะ
สารเคมีที่ใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มสารออร์กาโนฟอสเฟต, คาร์บาเมต ตัวอย่างเช่น เทมีฟอส.เฟนิโตรไทออน. คลอไพรีฟอส ฯลฯ สารที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นสารที่มีความปลอดภัยสูงต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและสัตว์น้ำ สารที่ใช้จะค่อนข้างสลายตัวเร็วโดยใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน แต่มีอยู่บางชนิดที่สลายตัวช้า ทั้งนี้การเลือกใช้แบบใดควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก
– ทรายอะเบทหรือสารเคลือบทรายเทมีฟอส 1%w/w และเม็ดเกล็ดละลายน้ำ(เอซายเอส เอส)
การใช้สารในกลุ่มนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตามความเข้มข้นที่ถูกกำหนดไว้ นั่นคือ 1ppmในน้ำ (10 กรัม ในน้ำ 100 ลิตร) ความคงทนอยู่ที่ 8-20 สัปดาห์ แต่ปัจจุบันพบว่าการใช้สารกลุ่มนี้ในหลายประเทศได้สร้างความต้านทาน แต่ในประเทศไทยยังไม่เกิดความต้านทาน แต่คาดว่าในอนาคตอาจเกิดขึ้นได้ เพราะว่าในประเทศไทยมีการใช้สารในกลุ่มนี้อย่างแพร่หลาย และมีการหาใช้กันง่าย และไม่ได้ให้ความรู้อย่างถ่องแท้ ทำให้มีการใช้สารกันเกินอัตราที่กำหนด หรือต่ำกว่าที่กำหนด เหล่านี้ก่อให้เกิดการสร้างความต้านทานได้กับยุงในอนาคต
– สารยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง (Insect growth regulator) สารกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
* สารคล้ายจูวีไนล์ฮอร์โมน สารในกลุ่มนี้คิดค้นมาเนื่องจากการยับยั้งพฤติกรรมของแมลงนั่นคือพฤติกรรมการลอกคราบ ทำให้แมลงไม่สามารถลอกคราบกลายเป็นดักแด้ได้ สารกลุ่มนี้ได้แก่ เม็ทโทรปีน ชื่อการค้า เช่น Altosid, Apex, Precor ฯลฯ สารในกลุ่มนี้ไม่มีผลต่อตัวโม่งที่มีอยู่ก่อนแล้วในตุ่มหรือแหล่งน้ำขัง สารนี้ให้ผลในการกำจัดอยู่ที่ 2-4 สัปดาห์