ยุง..ภัยร้ายที่อยู่ใกล้ตัว

จากบทความที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาศัตรูที่มากัดกินบ้านเรือนของเรานั่นคือ “ปลวก” ได้รู้ว่าปลวกมีพฤติกรรมอย่างไร วงจรชีวิต, การดำรงอยู่ภายในรัง รวมถึงพฤติกรรมของที่สำคัญของปลวก ทำให้เราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเข้าทำลายของปลวกได้บ้าง ซึ่งหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านนะคะ
ตอนนี้ก็เป็นช่วงปลายฝนต้นหนาว ปัญหาที่เรามักพบอยู่เสมอนั่นคือ ปัญหาจากการเข้ามาดูดกินเลือดของเราจากแมลงที่เรามักคิดว่าร้ายกว่าเสือ ใช่ค่ะแมลงชนิดนั้นก็คือ “ยุง” นั่นเอง
จากจำนวนแมลงที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก แต่หนึ่งในนั้นก็มีแมลงที่เราพบว่าเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ประเทศไทยเองก็พบปัญหาที่สำคัญนี้เหมือนกันเพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะต่อการดำรงชีวิต โรคสำคัญที่เกิดจากยุงเป็นพาหะได้แก่ โรคไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ มาลาเรีย เท้าช้าง ซึ่งโรคแต่ละชนิดก็จะมียุงที่เป็นพาหะที่แตกต่างกัน

การวางแผนควบคุมยุงพาหะ เราจำเป็นที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา ได้แก่ ทางด้านการเจริญเติบโต การแพร่กระจาย การเปลี่ยนแปลงของประชากรในแต่ละฤดูกาล ความสามารถในการนำโรค แหล่งอาศัย เหยื่อที่ชอบกินเลือด ตลอดจนพฤติกรรมอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อการควบคุมยุง

moke_04 moke_03

จะเห็นได้ว่าในการควบคุมยุงให้ได้ประสิทธิภาพนั้นเราจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่กล่าวมา ซึ่งยุงแต่ละชนิดก็จะมีลักษณะพื้นฐานนี้แตกต่างกัน คราวหน้าเราจะมาลงลึกถึงลักษณะยุงแต่ละชนิดว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรกันบ้างนะคะ เพื่อการควบคุมที่ได้ผลดีที่สุดค่ะ