ทำความรู้จักกับ ไข้หวัดหมู (Influenza A virus subtype “H1N1”)

H1N1 เป็น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ H1N1 โดยรหัส" H " ย่อมาจาก Hemagglutinin ( ใช้ตัวย่อ HA )คือ โปรตีน ที่จะปรากฏเป็นตุ่มยื่นออกมาจากผิวของไวรัส หน้าที่หลักของ HA คือ เข้าจับกับเซลล์ receptor ในเซลล์ของคน และเมื่อยึดติดแล้วเชื้อไวรัส ก็จะบุกรุกเซลล์ โดย RNA ของไวรัสจะเข้าสู่นิวเคลียส เพื่อสร้างอนุภาคไวรัสตัวใหม่ โดจรหัส " N " ย่อมาจาก Neuraminidase ( ใช้ตัวย่อ NA ) คือ โปรตีน ที่จะทำหน้าที่ นำไวรัสที่ถูกสร้างใหม่ ออกจากเซลล์คนเดินทางสู่เซลล์อื่น ๆ ในร่างกายต่อไป
โดยไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ H1N1 หรือที่ตอนนี้เรียกันว่า ไข้หวัดหมู ที่เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์สเปน (Spanish Flu ) กับ ไข้หวัดสายพันธุ์ที่พบในหมู และ ไข้หวัดสายพันธุ์ที่พบในนก

ข้อมูลจาก : http://wowboom.blogspot.com อ่านเพิ่มที่นี่

คำถาม วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในคนมีกี่ชนิด
คำตอบ ชนิดของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในคน มี 4 ชนิด ดังนี้

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด เป็นวัคซีนเชื้อตาย 3 ชนิด ส่วนอีก 1 ชนิดเป็นวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated หรือ killed virus vaccine)

1.1 Whole virus vaccine เป็นวัคซีนที่นำเอาไวรัสทั้งอนุภาคไปผลิตวัคซีน โดยฆ่าเชื้อให้หมดสภาพในการติดเชื้อเสียก่อน วัคซีนที่ผลิตโดยวิธีนี้มักมีฤทธิ์ไม่พึงประสงค์มากกว่าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการไข้

1.2 Split virion vaccine เมื่อเพาะเชื้อไวรัสได้ตามต้องการแล้ว นำเชื้อไวรัสไปฝ่านกระบวนการที่ทำให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของไวรัส แยกตัวจากอนุภาคเดิม แต่ก็จะยังมีทั้ง external antigen ซึ่งเป็น glycoprotein (HA, NA) และ internal antigen nucleoprotein-NP และ Membrane protein-M) วัคซีนนี้ผลิตขึ้นเพื่อให้มีปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่ำลง เนื่องจากไม่มีสารก่อปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ (reactogenic lipid)

1.3 Subunit vaccine เป็นวัคซีนที่เอาเชื้อไวรัสไปผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ โดยแยกเอา Internal antigen ออกไปเหลือไว้เฉพาะ Hemagglutinin (H) และ Neuraminidase (N) หรือที่เรียกว่า surface antigen ทำให้มีฤทธิ์หรือปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่ำคล้าย ๆ กับ split virion vaccine

สำหรับวัคซีนเชื้อตายทั้ง 3 ชนิดนั้น การทดสอบในสนามและการใช้ในการป้องกันโรคจริง ๆ ปรากฏว่าชนิด split virus vaccine เป็นชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าชนิด subunit vaccine โดยมีปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่ำ ไม่ว่าจะใช้กับวัยหนุ่มสาว วัยกลางคน หรือวัยชรา และเหมาะอย่างยิ่งที่จะให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะ whole virus vaccine จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์สูง

ไวรัสชนิดต่าง ๆ ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้นำมาเป็นองค์ประกอบในวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ในฤดูการระบาดของปีต่าง ๆ

ดังได้กล่าวไว้แล้ว ว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถผันแปรไปได้เสมอ องค์การอนามัยโลกได้อาศัยข้อมูลจากการเฝ้าระวังแยกเชื้อไวรัส และวิเคราะห์ลักษณะของแอนติเจนของแต่ละสายพันธุ์ โดยได้จัดประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญเป็นระยะ ๆ เพื่อกำหนดไวรัสที่จะใช้เป็นองค์ประกอบสำหรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับปีต่าง ๆ อาทิ เช่น

1. วัคซีนที่ใช้ป้องกันระหว่างฤดูการระบาด พ.ศ. 2524-2525 (1981-1982) คือ
A/Bangkok 1/79 (H3N2) – like strain*
A/Brazil /11/78 (H1N1) – like strain
B/Singapore /222/79 – like strain

2. วัคซีนที่ใช้ป้องกันในฤดูการระบาด พ.ศ. 2536-2537 (1993-1994) คือ
A/Beijing /32/92 (H3N2) – like strain
A/Singapore /6/86 (H1N1) – like strain
B/Panama /45/90 – like strain

3. วัคซีนที่ใช้ป้องกันในฤดูการระบาดระหว่าง พ.ศ. 2539-2540 (1996-1997) คือ
A Wuhan /359/95 (H3N2) – like strain
A/Singapore /6/86 (H1N1) – like strain
B/Beijing /184/93 – like strain

4. วัคซีนที่ใช้ป้องกันในฤดูการระบาด พ.ศ. 2545-2546 (2002-2003) สำหรับซีกโลกเหนือ คือ
A/New Caledonia/20/99 (H1N1) –like strain
A/Moscow /10/99 (H3N2) – like strain
B/Hong Kong /330/2001 – like strain

5. วัคซีนที่ใช้ป้องกันในฤดูการระบาด พ.ศ. 2545-2546 (2002-2003) สำหรับซีกโลกใต้คือสายพันธุ์เดียวกันกับที่ใช้ในซีกโลกเหนือ

6. วัคซีนที่ใช้ป้องกันในฤดูการระบาด พ.ศ. 2546-2547 (2003-2004) สำหรับซีกโลกใต้คือ
A/New Caledonia /20/99 (H1N1) – like strain
A/Fujian /411/02 (H3N2) – like strain
B/Hong Kong /330/2001 – like strain

โปรดสังเกตว่า

1. จากปี พ.ศ. 2536/2537 ไปถึง พ.ศ. 2539/2540 ยังคงใช้ H1N1 สายพันธุ์เดิมคือ A/Singapore /6/86 แต่ H3N2 จะเปลี่ยนจาก A/Beijing/32/52 ไปเป็น A/Wuhan/359/95 และ A/Wuhan นี้ยังคงใช้ต่อไปสำหรับฤดูการระบาดปี พ.ศ. 2540/2541 สำหรับไวรัส H1N1 ในปีพ.ศ. 2540/2541 จะเปลี่ยนจาก A/Singapore/6/86 (H1N1) ไปเป็น A/Bayern/7/95 (H1N1)

* ไวรัส A/Bangkok/1/79 (H3N2) เป็นไวรัสที่แยกได้จากตัวอย่างตรวจที่ได้จากผู้ป่วยที่โรงพยาบาลศิริราช และแยกเชื้อที่สาขาไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

2. คำว่า – like strain นั้นหมายความว่าอาจใช้สายพันธุ์อื่นที่มีลักษณะทางแอนติเจนคล้ายกับสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำอาทิเช่น
A/Wuhan/359/95 H3N2 – like strain บริษัทผู้ผลิตวัคซีนใช้ A/Nanchang/933/95 (H3N2) และ A/Singapore/6/86 (H1N1) – like strain มีผู้ใช้ A/Texas/36/96 (H1N1) และ B/Beijing/184/93 – like strain มีผู้ใช้ B/Harbin/7/94 เป็นต้น

3. เมื่อก่อนนี้ไม่มีการแนะนำการใช้สายพันธุ์ที่ประกอบในวัคซีนแยกกันระหว่างซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ แต่ปัจจุบันมีการศึกษาทางระบาดวิทยามากขึ้น ทำให้เข้าใจสภาวะทางระบาดดีขึ้น เพื่อให้เหมาะสม จึงมีการแยกคำแนะนำ อย่างไรก็ตามในบางปีก็ให้ใช้สายพันธุ์เหมือนกันก็ได้

ทุกสายพันธุ์เมื่อเพาะเลี้ยงในไข่ไก่ฟักแล้ว นำไปผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ และทำให้เข้มข้น จึงเข้าสู่กระบวนการแยกส่วนประกอบ (Splitting) โดยทำแยกกันแต่ละสายพันธุ์ และนำไวรัสสายพันธุ์อื่นที่ผ่านกระบวนการเช่นเดียวกันมาแล้ว นำมาผสมกันเป็น Polyvalent vaccine โดยมีไวรัส A สายพันธุ์ H3N2 กับ A สายพันธุ์ H1N1 และไวรัส B อีกหนึ่งสายพันธุ์ แล้วนำไปทดสอบความแรง ทดสอบความปลอดภัยตามข้อกำหนดในการผลิตวัคซีน แล้วจึงจะนำออกจำหน่ายได้โดยไม่ต้องนำไปทดสอบประเมินผล Phase I, Phase II ใหม่อีก

ข้อมูลจาก : http://www.ift2004.org/FAQ/FAQ4.html